อาชีพต้องห้ามของแรงงานต่างด้าวมีอะไรบ้าง?
อาชีพต้องห้ามต่างด้าว มีอะไรบ้าง นายจ้าง-แรงงานควรต้องรู้
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าประเทศไทยมีการจ้างแรงงานต่างด้าวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะคนต่างด้าวที่ทำงานในภาพการผลิต การเกษตร และการก่อสร้าง ซึ่งเป็นการจ้างงานที่มีการดำเนินการอย่างถูกต้องภายใต้ระบบ MOU หรือขึ้นทะเบียนแรงงานตามมติครม. โดยจะเป็นกระบวนการที่จะช่วยไม่ให้เกิดโทษตามกฎหมายตามมา
ซึ่งในการจ้างคนต่างด้าวให้เข้ามาทำงานภายในประเทศ จะต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับอาชีพที่แรงงานต่างด้าวสามารถทำได้และทำไม่ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ทั้งนายจ้างและแรงงานถูกตรวจสอบและอาจเกิดผลกระทบในภายหลังได้
อาชีพที่แรงงานต่างด้าวไม่สามารถทำได้
ก่อนจ้างงานหรือนำเข้าแรงงานต่างด้าว ทั้งนายจ้างและแรงงานจะต้องศึกษาเกี่ยวกับอาชีพต้องห้ามที่ไม่สามารถทำได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายและทำให้การจ้างงานมีความโปร่งใสมากที่สุด โดยจะมีอาชีพที่ทางกฎหมายได้กำหนดขึ้นเพื่อสงวนไว้สำหรับคนไทยมากมาย ตัวอย่างเช่น
- งานแกะสลักไม้
- งานเจียระไนเพชร พลอย
- งานเกี่ยวกับการขับขี่ยานยนต์ที่ไม่ใช้เครื่องจักร หรือเครื่องกลในประเทศ ยกเว้น งานขับขี่เครื่องบินระหว่างประเทศและงานขับรถยก (Forklift)
- งานขายทอดตลาด
- งานตัดผมและเสริมสวย
- งานทอผ้าด้วยมือ
- งานทำเครื่องดนตรีไทย
- งานนวดไทย
- งานเลขานุการ
- งานมัคคุเทศก์
- งานบริการทางกฎหมาย
- งานนายหน้าหรือตัวแทน ยกเว้นธุรกิจการค้า หรือธุรกิจที่เกี่ยวกับการลงทุนต่างประเทศ
- งานทำเครื่องทอง/เงิน/นาก
- งานทำเครื่องลงหิน
- งานทำตุ๊กตาไทย
- งานทำกระดาษสาด้วยมือ
นอกจากนี้ยังมีงานที่แรงงานต่างด้าวไม่สามารถทำได้อีกหลายอย่าง เนื่องจากการเข้ามาของแรงงานต่างด้าว ส่งผลกระทบต่อแรงงานคนไทยไม่น้อยเลยทีเดียว จึงต้องมีข้อกำหนดดังกล่าวเพื่อเป็นการสงวนสิทธิ์ไว้ให้แรงงานคนไทยทำเท่านั้น
อาชีพที่แรงงานต่างด้าวสามารถทำได้
ประเภทไม่มีเงื่อนไข
เป็นประเภทที่มีเพียง 1 อาชีพเท่านั้น คือ อาชีพกรรมกร
ประเภทมีเงื่อนไข
ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอาชีพที่มีการขาดแคลนสูง เนื่องจากเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความจำเป็นในตลาดแรงงาน และไม่ส่งผลกระทบต่อโอกาสในการทำงานของแรงงานคนไทย ซึ่งจะมีอยู่ 8 อาชีพ ได้แก่ อาชีพกสิกรรม, ก่อสร้าง, ทำมีด, ทำหมวก, ทำรองเท้า, ทำที่นอน/ผ้าห่มนวม, ประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย และทำเครื่องปั้นดินเผา
ประเภทมีเงื่อนไข (ตามข้อตกลงระหว่างประเทศอาเซียน)
อาชีพในประเภทนี้ จะเป็นกลุ่มอาชีพที่จำเป็นจะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ซึ่งจะต้องเป็นไปตามกฎหมายไทย จึงจะสามารถทำอาชีพเหล่านี้ได้ นั่นคือ
- บัญชี แต่จะยกเว้นการตรวจสอบภายใน
- วิศวกรรม ยกเว้นแรงงานต่างด้าวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน
- งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับอำนวยการก่อสร้าง การออกแบบ ประมาณราคา และให้คำแนะนำ
หากมีการฝ่าฝืนทำอาชีพต้องห้าม มีโทษอย่างไร?
เมื่อได้ทราบถึงอาชีพที่แรงงานต่างด้าวไม่สามารถทำได้แล้ว นายจ้างและแรงงานอาจมีข้อสงสัยตามมาว่าหากฝ่าฝืนข้อกฎหมายดังกล่าว จะมีโทษอย่างไร? ซึ่งหากพูดถึงโทษของการฝ่าฝืนทำอาชีพต้องห้ามของแรงงานต่างด้าว จะมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท และถูกส่งกลับประเทศต้นทาง จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงควรจ้างแรงงานต่างด้าวแบบถูกกฎหมายภายใต้ระบบ MOU หรือขึ้นทะเบียนแรงงานตามมติ ครม. เท่านั้น
บทสรุป
อาชีพต้องห้ามต่างด้าว เป็นเงื่อนไขที่มีความสำคัญ ทั้งนายจ้างและแรงงานจะต้องศึกษาให้ละเอียดและครบถ้วน เพื่อป้องกันการเกิดโทษทางกฎมายตามมา และถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทาง
สำหรับนายจ้างที่ต้องการจัดหาแรงงานเข้ามาทำงานในธุรกิจหรือกิจการของตัวเอง สามารถติดต่อได้ที่ A.A.A ADVANCE บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศที่ได้จดทะเบียนถูกต้องกับกรมแรงงาน ซึ่งจะคอยดูแลทั้งการนำเข้าแรงงานต่างด้าว การต่อวีซ่าและขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานต่างด้าว เพื่อให้ธุรกิจหรือกิจการของคุณ เติบโตได้อย่างโปร่งใสและราบรื่นมากที่สุด
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
- Administrator
- Sep 11, 2024
เช็กด่วน! 6 เอกสารที่แรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายจำเป็นต้องมี ในปี 2024
อ่านต่อ- Administrator
- Aug 16, 2024
บริการของบริษัท นำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ เอ.เอ.เอ. แอดวานซ์ จำกัด
อ่านต่อ- Administrator
- Dec 19, 2024
รู้ข้อดีการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมาย
อ่านต่อ- Administrator
- Sep 13, 2024