พาสปอร์ตพม่ามีกี่ประเภทสำหรับแรงงานต่างด้าวและนักท่องเที่ยว
พาสปอร์ตพม่ามีกี่ประเภท? คู่มือสำหรับแรงงานและนักเดินทาง
พาสปอร์ตเป็นเอกสารที่มีความสำคัญสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ โดยเฉพาะคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานภายในประเทศ จะต้องมีเอกสารสำคัญอย่างพาสปอร์ตไว้ให้พร้อม ซึ่งในบทความนี้จะพามาทำความรู้จักของพาสปอร์ตพม่า พร้อมแนะนำพาสปอร์ตเฉพาะสำหรับแรงงานและนักเดินทางที่คุณต้องรู้!
พาสปอร์ตพม่ามีทั้งหมดกี่ประเภท
พาสปอร์ตพม่าที่กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศประเภทของสีต่าง ๆ ให้กับพลเมืองพม่าหรือเมียนมาร์มีอยู่ 9 ประเภท ได้แก่
พาสปอร์ตประเภท PB = Passport for Business
พาสปอร์ตประเภท PT = หนังสือเดินทางสำหรับผู้ติดตาม
พาสปอร์ตประเภท PJ = Passport for Jobs
พาสปอร์ตประเภท PR = หนังสือเดินทางทางศาสนา
พาสปอร์ตประเภท PS = หนังสือเดินทางของคนเดินเรือ
พาสปอร์ตประเภท PE = หนังสือเดินทางนักเรียน
พาสปอร์ตประเภท PV = Passport for Visit
พาสปอร์ตประเภท PD = หนังสือเดินทางทูตและ
พาสปอร์ตประเภท PO = หนังสือเดินทางราชการ
ภายในพาสปอร์ตจะประกอบไปด้วยข้อมูลส่วนตัวของผู้ถือพาสปอร์ต ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ, สัญชาติ, รูปถ่าย, เลขพาสปอร์ต, รหัสประเทศ, วันเกิด หรือเพศ เป็นต้น ซึ่งก็จะมีข้อมูลอื่น ๆ ภายในพาสปอร์ตที่จะสามารถระบุตัวตนของผู้ถือพาสปอร์ตได้อย่างชัดเจน
พาสปอร์ตพม่าสำหรับแรงงานและนักเดินทาง
เนื่องจากในปัจจุบัน สถานการณ์แรงงานในประเทศไทยค่อนข้างมีปัญหา เนื่องจากมีการขาดแคลนแรงงานในบางกลุ่มอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพประเภท 3D ซึ่งเป็นงานที่แรงงานคนไทยเลือกที่จะไม่ทำกันเป็นส่วนใหญ่ การเข้ามาของแรงงานต่างด้าวจึงช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้เป็นอย่างดี
โดยที่พาสปอร์ตพม่าสำหรับแรงงานและนักเดินทาง จะมีอยู่ 2 ประเภท นั่นคือ PJ และ PV ซึ่งในบทความนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักพาสปอร์ตทั้ง 2 ประเภทนี้ ก่อนเลือกใช้งาน!
พาสปอร์ตพม่า PJ
พาสปอร์ตพม่าประเภท PJ (Passport for Jobs) เป็นหนังสือเดินทางสำหรับคนพม่าที่จะเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ ซึ่งสามารถใช้กับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยด้วยเช่นกัน โดยจะมีอายุการใช้งานตามระยะเวลาที่มีการอนุญาตให้ทำงานภายในประเทศนั้น ๆ ส่วนใหญ่มักจะมีอายุไม่เกิน 2 ปี
ข้อควรระวัง คือ พาสปอร์ตพม่า PJ ไม่สามารถใช้สำหรับการท่องเที่ยว หรือการเดินทางแบบส่วนตัวได้ หากนำไปใช้ผิดจุดประสงค์อาจจะถูกยึดพาสปอร์ตหรือถูกห้ามเดินทางได้ ซึ่งหากว่าผู้ถือพาสปอร์ตต้องการใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น ก็จะต้องทำพาสปอร์ตประเภทอื่นนั่นเอง
พาสปอร์ตพม่า PV
พาสปอร์ตพม่าประเภท PV (Passport for Visit) เป็นหนังสือเดินทางสำหรับคนพม่าที่ต้องการเดินทางไปต่างประเทศชั่วคราว ด้วยวัตถุประสงค์ต่าง ๆ โดยจะมีอายุการใช้งานตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ โดยทั่วไปจะมีระยะเวลาจำกัดประมาณ 1-3 ปี ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การเดินทางและการอนุมัติ
ข้อควรระวัง คือ อาจไม่สามารถใช้สำหรับการเดินทางไปบางประเทศได้ จะต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับข้อกำหนดและเงื่อนไขให้ชัดเจน และเป็นพาสปอร์ตที่มีข้อกำหนดบางประการเกี่ยวกับการต่ออายุอีกด้วย
PJ มีความแตกต่างจาก CI เล่มสีเขียวอย่างไร?
นอกจากพาสปอร์ตพม่าแล้ว เชื่อว่าหลายคนอาจเคยเห็นหรือได้ยินเกี่ยวกับ CI เล่มสีเขียว มาบ้าง ซึ่งพาสปอร์ตพม่านั้นเป็นหนังสือเดินทางสำหรับคนพม่าที่ต้องการเดินทางเข้ามาทำงานภายในประเทศไทย ส่วน CI เล่มสีเขียวก็เป็นเอกสารที่จะรับรองสถานะบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยให้เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเช่นเดียวกัน
CI เล่มสีเขียว คือ หนังสือรับรองสถานะบุคคล (Certificate of Identity) เป็นเอกสารที่ออกโดยกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีความแตกต่างจากพาสปอร์ตพม่า คือ เป็นเอกสารสำหรับยืนยันตัวตนทางกฎหมาย สามารถเดินทางและทำธุรกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทยได้ แต่จะเป็นเอกสารสำหรับเดินทางเข้า-ออกประเทศไทยและประเทศพม่าเท่านั้น ไม่สามารถเดินทางไปประเทศอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ได้
บทสรุป
พาสปอร์ตพม่ามีความสำคัญอย่างมากในเดินทางเข้ามาทำงานภายในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย เพื่อป้องกันทั้งฝั่งของนายจ้างและแรงงานต่างด้าวไม่ให้รับโทษทางกฎหมายจากการลักลอบเข้าประเทศ และการจ้างงานคนต่างด้าวที่ไม่มีพาสปอร์ตและใบอนุญาตอย่างถูกต้อง หรือก็คือ เป็นแรงงานที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ระบบ MOU อย่างถูกต้อง
สำหรับนายจ้างที่ต้องการคนต่างด้าวเข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมาย มีเอกสารครบถ้วน สามารถติดต่อได้ที่ A.A.A ADVANCE บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศที่ได้จดทะเบียนถูกต้องกับกรมแรงงาน ซึ่งจะดูแลตั้งแต่เรื่องเอกสาร การนำเข้าแรงงานต่างด้าว การต่อวีซ่า และกระบวนการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานต่างด้าวแบบครบวงจร
Powered by Froala Editor
- Administrator
- Aug 16, 2024
บริการของบริษัท นำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ เอ.เอ.เอ. แอดวานซ์ จำกัด
อ่านต่อ- Administrator
- Sep 11, 2024
เช็กด่วน! 6 เอกสารที่แรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายจำเป็นต้องมี ในปี 2024
อ่านต่อ- Administrator
- Dec 19, 2024
รู้ข้อดีการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมาย
อ่านต่อ- Administrator
- Sep 13, 2024