เมื่อต้องจ้างพนักงานต่างด้าว ฝ่าย HR ควรดำเนินการอย่างไรบ้าง?
การจ้างพนักงานต่างด้าวเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับกิจการต่าง ๆ โดยเฉพาะกิจการประเภทการก่อสร้าง, การเกษตร หรือการผลิต เป็นต้น เนื่องจากอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงไม่เป็นที่นิยมสำหรับแรงงานชาวไทย จึงทำให้พนักงานประเภทงานที่มีความเสี่ยงลดน้อยลง จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมความต้องการแรงงานต่างด้าวถึงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนและการดำเนินการจ้างพนักงานต่างด้าวก็ไม่ง่ายเช่นกัน ดังนั้นแล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่า ก่อนจ้างพนักงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน ฝ่าย HR ควรทราบอะไรบ้าง แล้วต้องดำเนินการอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย
แรงงานต่างด้าวสำคัญอย่างไรในประเทศไทย?
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจุบัน การจ้างงานกลุ่มแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยมีอัตราที่สูงมาก เนื่องจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาหรือการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้น จึงไม่แปลกเลยที่แรงงานต่างด้าวได้รับการจ้างงานมากขึ้น นอกจากนี้ แรงงานต่างด้าวยังเป็นส่วนสำคัญสำหรับภาคเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ประกอบไปด้วย ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมการผลิต และภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นต้น ซึ่งภาคเศรษฐกิจดังกล่าวนี้ต้องการแรงงานจำนวนมาก เนื่องจากเป็นกลุ่มแรงงานที่มาแทนที่แรงงานชาวไทยที่ไม่นิยมทำงานเหล่านี้มากนัก
อีกทั้ง แรงงานต่างด้าวยังมีส่วนช่วยรักษาความมั่นคงของค่าจ้างในบางภาคอุตสาหกรรมด้วย รวมถึงส่งเสริมการกระจายรายได้ไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ดังนั้นแล้ว ความสำคัญของแรงงานต่างด้าวคือ เป็นหนึ่งในส่วนช่วยสำคัญที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยให้พัฒนามากยิ่งขึ้นนั่นเอง
ฝ่าย HR ควรรู้และดำเนินการอะไรบ้างก่อนจ้างพนักงานแรงงานต่างด้าว
ใบอนุญาต
แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยต้องได้รับใบอนุญาตการทำงาน จากกระทรวงแรงงาน กรมการจัดหางาน ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ออกใบอนุญาต โดยใบอนุญาตการทำงานสำหรับแรงงานต่างด้าวนี้จะระบุว่าแรงงานต่างด้าวทำงานที่ไหน งานประเภทอะไร และนายจ้างคนไหน เป็นต้น
การอบรม
ก่อนที่แรงงานต่างด้าวทุกคนจะได้รับใบอนุญาตการทำงาน จำเป็นต้องเข้ารับการอบรมที่ศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้าง เพื่อทำความเข้าใจและเรียนรู้การทำงานในประเทศไทย และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้นด้วย
การรายงานตัว
นายจ้างจำเป็นต้องพาแรงงานต่างด้าวเข้ารายงานตัวต่อพนักงานสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทุก ๆ 90 วัน หรือประมาณ 3 เดือน ซึ่งกรณีที่ไม่สามารถมาได้ สามารถแจ้งได้ก่อนล่วงหน้า 15 วัน หรือหลังจากวันครบกำหนด 7 วัน หากในกรณีที่เกินกำหนดการ จะถูกปรับเป็นเงิน 2,000 บาท
การตรวจสุขภาพ
30 วันนับจากวันเข้าทำงานในประเทศไทย แรงงานต่างด้าวต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพ เพื่อรับเอกสารรับรองแพทย์และนำไปยื่นขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) โดยครอบคลุมรายการโรค 6 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
โรคเรื้อน (Leprosy)
วัณโรคระยะอันตราย (Advandced Pulmonary Tuberculosis)
โรคพิษสุราเรื้อรัง (Chronic alcoholish)
โรคเท้าช้างระยะปรากฏอาการอันเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม (Elephantiasis)
โรคยาเสพติดให้โทษ (Drug addiction)
โรคซิฟิลิสใน (syphilis)
ค่าแรงขั้นต่ำ
นายจ้างหลายคนมักคิดว่าการจ้างพนักงานต่างด้าวดีกว่า เพราะไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าแรงเท่ากับคนไทย แต่จริง ๆ แล้ว ตามกฎหมายแรงงาน แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยต้องได้รับสิทธิค่าแรงเท่ากับค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทย กระนั้น ราคาขึ้นอยู่กับพื้นที่และจังหวัดที่แรงงานต่างด้าวทำงานอยู่
อายุแรงงานต่างด้าว
ข้อสำคัญที่ควรรู้คือแรงงานต่างด้าวที่สามารถทำงานในประเทศไทยได้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์เท่านั้น หรือในบางกรณี หากมีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะต้องไม่น้อยกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ซึ่งต้องเป็นประเภทงานที่ไม่เป็นอันตรายเท่านั้น
ประกันสังคม
ตามการประกาศของสำนักงานประกันสังคม แรงงานต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทยต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม พร้อมดูแลสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของแรงงานต่างด้าวที่ควรได้รับ อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขคือ แรงงานต่างด้าวต้องขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
อาชีพ
ปัจจัยสุดท้ายที่ฝ่าย HR ควรทราบคือ อาชีพที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวทำในประเทศไทย เพื่อป้องกันผลกระทบต่อแรงงานชาวไทยที่ถูกแย่งงาน จึงทำให้เกิดเป็นกลุ่มอาชีพที่สงวนสิทธิ์เฉพาะแรงงานชาวไทยเท่านั้น
(อ่านเพิ่มเติม: อาชีพต้องห้ามต่างด้าว มีอะไรบ้าง นายจ้าง-แรงงานควรต้องรู้)
ระบบ MOU
ผู้ประกอบการหลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า การแจ้งแรงงานต่างด้าวนั้นจำเป็นต้องเป็นกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นระบบของ MOU (Memorandum of Understanding)เท่านั้น ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบด้วย ประเทศกัมพูชา ประเทศลาว ประเทศพม่า และประเทศเวียดนาม โดยจุดประสงค์ของ MOU คือการนำเข้าแรงงานต่างด้าวที่มีการจัดระเบียบและความคุมการนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมายนั่นเอง
สำหรับนายจ้างหรือผู้ประกอบการท่านไหนที่กำลังมองหาบริษัทตัวแทนนำเข้าแรงงานต่างด้าวอยู่นั้น A.A.A ADVANCE บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศที่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้องกับกรมแรงงาน พร้อมให้บริการในการดำเนินการต่าง ๆ แทนนายจ้าง เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าแรงงานต่างด้าว หรือการต่อวีซ่า เป็นต้น สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ หรือเบอร์ 02-530-9455
บทสรุป
การจ้างพนักงานต่างด้าวจำเป็นต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งฝ่าย HR ควรทราบข้อมูลและการดำเนินการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการขอใบอนุญาตทำงาน หรือการตรวจสุขภาพแรงงาน เพื่อให้การจ้างงานเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน นอกจากนี้ การอบรบเพื่อให้ข้อมูลแก่แรงงานต่างด้าวก็มีความสำคัญ เพราะเป็นส่วนที่ส่งผลให้แรงงานต่างด้าวสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
Powered by Froala Editor
- Administrator
- Aug 16, 2024
บริการของบริษัท นำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ เอ.เอ.เอ. แอดวานซ์ จำกัด
อ่านต่อ- Administrator
- Sep 13, 2024
เรื่องควรรู้ก่อนจ้างงาน! แรงงานต่างด้าว ต้องมีประกันสุขภาพหรือไม่
อ่านต่อ- Administrator
- Dec 19, 2024
รู้ข้อดีการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมาย
อ่านต่อ- Administrator
- Sep 11, 2024