กฎหมายแรงงานต่างด้าวกับการเปิดกิจการ ที่เจ้าของกิจการควรรู้

การจ้างแรงงานต่างด้าวสำหรับกิจการในประเทศไทย เป็นทางเลือกสำหรับเจ้าของกิจการที่มีมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานในสังคมไทย เนื่องจากการจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานจะสามารถขับเคลื่อนธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้าง การผลิต และการบริการในประเทศไทยได้ เพราะแรงงานต่างด้าวสามารถทนต่อสภาพการทำงาน และสามารถทำงานประเภท 3D ซึ่งเป็นงานที่แรงงานคนไทยมักจะหลีกเลี่ยงและมีความอดทนต่องานเหล่านี้น้อยกว่า 

แรงงานต่างด้าวกับการเปิดกิจการ

แรงงานต่างด้าวกับการเปิดกิจการ

แรงงานต่างด้าวมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศไทยอย่างมาก เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความต้องการของตลาดแรงงานไทยต่อแรงงานทักษะต่ำยังคงมีอยู่เยอะมาก ซึ่งเป็นงานที่คนไทยไม่นิยมทำ นั่นคือ งานประเภท 3D ได้แก่

  • งานหนัก (Difficult)

  • งานสกปรก (Dirty)

  • งานอันตราย (Dangerous)

การเลือกจ้างแรงงานต่างด้าวของกิจการหรือธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทย เป็นวิธีการลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานทักษะต่ำ และยังเป็นการช่วยลดต้นทุนแรงงานอีกด้วย 

กฎหมายแรงงานต่างด้าว

แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยแบบถูกกฎหมาย ก็จะได้รับการคุ้มครองลูกจ้างตามกฎหมาย โดยที่กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับ 2562 ได้มีการเพิ่มกฎคุ้มครองลูกจ้าง ดังนี้

  • ค่าแรงขั้นต่ำ

คนต่างด้าวที่เข้ามาเป็นแรงงานในประเทศไทย จะต้องได้รับค่าตอบแทนหรือค่าจ้างตามขั้นแรงขั้นต่ำเช่นเดียวกับแรงงานคนไทย ซึ่งจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละจังหวัด นายจ้างจึงต้องมีการตรวจสอบข้อกำหนดของจังหวัดที่ตั้งของกิจการว่ามีการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่เท่าไหร่ต่อวัน

  • หากนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน

สำหรับกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทนหรือค่าแรงตามที่ได้ตกลงกัน หรือกรณีที่นายจ้างไม่คืนหลักประกันเป็นเงิน ไม่จ่ายเงินชดเชยในกรณีเลิกจ้างโดยไม่บอกล่วงหน้า รวมถึงไม่จ่ายเงินในกรณีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าล่วงเวลา ค่าแรงหรือค่าล่วงเวลาทำงานในวันหยุด และเงินชดเชยในกรณีหยุดกิจการ นายจ้างจะต้องเสียค่าปรับเป็นดอกเบี้ยให้กับแรงงานในอัตรา 15% ต่อปี ของยอดเงินทั้งหมด

  • การยกเลิกสัญญาจ้างงาน

หากนายจ้างมีการยกเลิกสัญญาจ้างงานโดยไม่แจ้งล่วงหน้า นายจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าแรงที่แรงงานต้องได้รับ นับแต่วันที่เริ่มทำงาน หรือจากวันที่ได้รับค่าแรงล่าสุด ไปจนถึงวันที่มีการเลิกจ้างหรือวันที่มีการยกเลิกสัญญา

  • การเปลี่ยนนายจ้าง

การเปลี่ยนนายจ้างทุกกรณี จะต้องได้รับความยินยอมจากแรงงานทุกครั้ง และนายจ้างใหม่ที่จะเข้าไปทำงานจะต้องให้สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่แรงงานเคยได้รับ

  • การหยุดกิจการชั่วคราว

สำหรับนายจ้างที่มีความจำเป็นต้องหยุดกิจการชั่วคราว ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุใดก็ตาม จะต้องจ่ายเงินค่าแรงไม่ต่ำกว่า 75% ของค่าจ้างตามวันทำงานที่ได้ทำไว้แล้วก่อนที่นายจ้างจะหยุดกิจการ

  • การใช้สิทธิวันลา

แรงงานสามารถใช้สิทธิในการลาตามกฎหมาย โดยจะสามารถสิทธิลากิจได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และหากลาไม่เกิน 3 วันทำงานในหนึ่งปี จะต้องได้รับค่าจ้างตามปกติ ส่วนในกรณีของแรงงานผู้หญิงสามารถลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน 98 วัน โดยจะรวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตร ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายเงินให้เท่ากับค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน

  • สิทธิด้านความเท่าเทียม

แรงงานต่างด้าวทั้งผู้ชายและผู้หญิงจะต้องได้รับค่าแรง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดที่เท่ากัน หากว่าเป็นงานที่มีลักษณะ คุณภาพ และปริมาณเท่ากัน

การจ้างแรงงานต่างด้าวแบบถูกกฎหมาย

การจ้างแรงงานต่างด้าวแบบถูกกฎหมาย

  1. นายจ้างยื่นคำร้องเพื่อนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ (นจ.2) ไปยังประเทศต้นทาง

  2. ประเทศต้นทางจะรับสมัคร คัดเลือก และทำสัญญา แล้วจะจัดทำบัญชีรายชื่อ เพื่อส่งให้กับนายจ้างในประเทศไทย

  3. นายจ้างยื่นขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว โดยจะมีการชำระค่าคำขอและค่าธรรมเนียม 

  4. นายจ้างต้องวางหลักประกันกับกรมการจัดหางาน 

  5. กรมจัดหางานจะแจ้งให้นายจ้างทราบเกี่ยวกับการอนุญาตนำเข้า และจะมีการออกหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตไทยและสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

  6. คนต่างด้าวจะได้รับการอบรม ณ ศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้าง เมื่อผ่านการอบอรมจะได้รับใบอนุญาต

  7. คนต่างด้าวจะได้รับการตรวจสุขภาพและส่งผลตรวจไปที่กรมจัดหางานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต

  8. นายจ้างจะต้องแจ้งการเข้าทำงานของคนต่างด้าวไปที่สำนักงานจัดหางานภายใน 15 วัน

  9. เมื่อครบกำหนด คนต่างด้าวจะต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง และสามารถเว้นระยะ 30 วันเพื่อทำเรื่องกลับมาทำงานต่อได้

(อ่านบทความเพิ่มเติม: รวมข้อควรรู้ ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว ต้องทำอะไรบ้าง)

การขอใบอนุญาตทำงาน

แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย จะต้องเข้ามาแบบถูกกฎหมาย เพื่อให้ได้รับสิทธิความคุ้มครองต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะต้องเข้ามาภายใต้ MOU หรือขึ้นทะเบียนแรงงานตามมติ ครม. โดยจะสามารถทำงานในประเทศไทยได้เป็นระยะเวลา 2 ปี และสามารถต่ออายุใบอนุญาตได้อีก 2 ปี หากครบวาระการทำงานแล้ว แรงงานต่างด้าวทุกคนจะต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง และหากต้องการกลับมาทำงานในประเทศไทยต่อก็จะต้องเว้นระยะ 30 วัน จากนั้นให้ดำเนินการตามขั้นตอนและกลับมาทำงานต่อได้

บทสรุป

การจ้างงานสำหรับแรงงานต่างด้าวเพื่อเข้ามาทำงานให้กับธุรกิจในประเทศไทย จะมีขั้นตอนและการดำเนินการที่ค่อนข้างยุ่งยากและจะต้องใช้เวลา ในปัจจุบันจึงพบเห็นการลักลอบนำเข้าแรงงานต่างด้าวแบบผิดกฎหมายมากมาย แต่การกระทำเหล่านั้นตามมาด้วยความเสี่ยงที่จะทำให้คุณได้รับโทษตามกฎหมายตามมาได้

สำหรับนายจ้างที่กำลังเปิดกิจการของตัวเอง และต้องการแรงงานต่างด้าวแบบถูกกฎหมาย ในปัจจุบันมีบริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย ซึ่งจะสามารถดำเนินการนำเข้าแรงงานต่างด้าวแทนนายจ้างได้ ทำให้มีความสะดวกสบายและไม่ต้องคอยกังวลเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งที่ A.A.A. ADVANCE เป็นบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศที่ได้จดทะเบียนถูกต้องกับกรมแรงงาน พร้อมให้บริการตั้งแต่ขั้นตอนการให้คำปรึกษา และการดำเนินการทุกขั้นตอน เพื่อให้ธุรกิจของคุณได้รับแรงงานที่ตรงตามความต้องการและมีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02-530-9455

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

รับทำเว็บไซต์ by SiNGHADEVELOP CO.,LTD.