สิทธิแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ตามกฎหมายมีอะไรบ้าง
สิทธิแรงงานต่างด้าวมีอะไรบ้างที่นายจ้างต้องรู้ก่อนจ้างแรงงานต่างด้าว? แน่นอนว่ากฎหมายต่างด้าวเป็นสิ่งสำคัญที่นายจ้างทุกคนจะต้องศึกษาให้ดีและถี่ถ้วนก่อนที่จะเลือกจ้างคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในธุรกิจของตนเอง เนื่องจากสิทธิตามกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างงานนั้นมีความเข้มข้นและเคร่งครัดอย่างมาก หากมีการจ้างงานแบบผิดหฎหมาย หรือไม่ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายจะนำมาสู่โทษทางกฎหมาย ซึ่งจะทำให้เสียทั้งเงินและเวลาไม่น้อยเลยทีเดียว
สิทธิแรงงานต่างด้าว มีอะไรบ้างตามกฎหมาย
หากพูดถึงสิทธิประโยชน์แรงงานที่คนต่างด้าวควรจะได้หากมีการเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เรียกได้ว่าแรงงานต่างด้าวจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเช่นเดียวกับแรงงานคนไทย โดยจะมีกฎหมายแรงงานต่างด้าวและมาตรการต่าง ๆ ที่มุ่งดูแลสิทธิและความปลอดภัยของแรงงานต่างด้าว
ซึ่งหากต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวจะต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานต่างด้าว ล่าสุด ไม่ว่าจะเป็น สิทธิคนต่างด้าว มีอะไรบ้าง? ค่าจ้างที่ควรได้รับ? หรืองานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง ตามกฎหมายให้ทำงานได้วันละไม่เกินกี่ชั่วโมง? ซึ่งเป็นรายละเอียดพื้นฐานที่นายจ้างต้องรู้ โดยจะมีรายละเอียดของสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของแรงงานต่างด้าว ดังนี้
ค่าจ้างที่จะได้รับ
แรงงานต่างด้าวจะได้รับค่าจ้างตามกฎหมายไม่น้อยกว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะได้รับค่าจ้างขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในแต่ละจังหวัดเช่นเดียวกับแรงงานคนไทย และนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างให้ตรงเวลาและครบถ้วน และหากทำงานเกินเวลาที่กำหนด ต้องได้รับค่าจ้างเพิ่ม
เวลาทำงานและเวลาพัก
สิทธิของลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นแรงงานคนไทยหรือแรงงานต่างด้าว นั่นคือเวลาทำงานและเวลาพักของแรงงาน โดยจะทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และต้องมีเวลาพักอย่างน้อย 1 ชั่วโมง และมีวันหยุดพักผ่อนประจำสัปดาห์ หากมีการทำงานเกินเวลาหรือนอกเวลา จะต้องได้รับความยินยอมจากแรงงานและจะต้องจ่ายเงินค่าล่วงเวลาตามกฎหมายกำหนด
และในกรณีที่เป็นงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง เช่น งานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง งานที่มีเสียงดัง หรืองานที่เป็นพิษ เป็นต้น ในทางกฎหมายจะสามารถทำงานได้ไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวันและไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยจะเป็นข้อกฎหมายที่ใช้สำหรับแรงงานคนไทยและแรงงานต่างด้าว
การลาหยุดของแรงงาน
แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องได้รับสิทธิของลูกจ้างในการลาหยุดอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์, วันหยุดอย่างน้อย 13 วันต่อปี รวมวันแรงงาน, วันลาพักร้อนไม่น้อยกว่า 6 วันต่อปี (กรณีที่ทำงานครบ 1 ปี), ลาป่วยตามความจำเป็น (ในกรณีที่ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันต่อปี)
สิทธิประกันสุขภาพ
สิทธิในการรักษาพยาบาลของคนต่างด้าวจะได้รับสิทธิประกันสุขภาพตามสิทธิประกันสังคมจากกระทรวงสาธารณสุข โดยจะต้องชำระค่าตรวจสุขภาพ 500 บาท และค่าประกันสุขภาพ 1,600 บาท จึงจะได้เข้าสู่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าเช่นเดียวกับแรงงานคนไทย
ซึ่งแรงงานต่างด้าวสามารถเข้าใช้สิทธิการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่แจ้งไว้ในครั้งแรกได้ โดยจะได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลทั่วไป รวมถึงการคลอดบุตร และการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจากการทำงาน
สิทธิประกันสังคม
สำหรับสิทธิประกันสังคม แรงงานต่างด้าวจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางประกันสังคม โดยจะได้เข้าสู่สถานะของการเป็นผู้ประกันตน ซึ่งประกันสังคม ต่างด้าวที่มีการเข้ามาทำงานภายในประเทศอย่างถูกกฎหมายจะมีสิทธิด้านการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ เงินว่างงาน เงินทดแทนรายได้ในกรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร หรือทุพพลภาพ และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ตามกฎหมายเช่นเดียวกับแรงงานคนไทยนั่นเอง
โดยจะต้องมีการตรวจสอบสิทธิประกันสังคม แรงงานต่างด้าว ผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ ตรวจสอบผ่านแอปพลิเคชัน SSO Connect, ตรวจสอบผ่านเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม และติดต่อสำนักงานประกันสังคม เพื่อให้แรงงานต่างด้าวได้รับรู้ถึงสิทธิประโยชน์ที่ตนเองพึงได้รับตามกฎหมาย เนื่องจากการส่งเงินสมทบประกันสังคม จะได้รับการคุ้มครองใน 7 กรณี นั่นคือ
กรณีทุพพลภาพ
กรณีว่างงาน
กรณีคลอดบุตร
กรณีการสงเคราะห์บุตร
กรณีเจ็บป่วย หรือได้รับอันตรายจากการทำงาน
กรณีชราภาพ
กรณีเสียชีวิต
ความปลอดภัยในการทำงาน
การทำงานในธุรกิจหรือกิจการต่าง ๆ ที่นายจ้างได้ทำการจ้างงานคนต่างด้าว จะต้องมีการจัดสภาพการทำงานให้มีความปลอดภัย และจะต้องมีการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายต่าง ๆ ให้กับลูกจ้างอย่างครอบคลุม
การเลิกจ้างและค่าชดเชยที่จะได้รับ
หากแรงงานต่างด้าวถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด จะต้องได้รับสิทธิเหมือนแรงงานคนไทย นั่นคือจะได้รับเงินชดเชยจากนายจ้าง และจะต้องมีการเลิกจ้างโดยแจ้งล่วงหน้าและมีเหตุผลที่สมควรต่อการเลิกจ้าง โดยจำนวนเงินค่าชดเชยที่จะได้รับนั้นจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ทำงานเช่นเดียวกับแรงงานคนไทย
การป้องกันการเอารัดเอาเปรียบ
แรงงานต่างด้าวสามารถปฏิเสธการทำงานที่ละเมิดทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็น การทำงานเกินเวลาโดยไม่มีค่าล่วงเวลา หรือการทำงานที่ไม่ปลอดภัยต่าง ๆ ซึ่งหากแรงงานต่างด้าวละเมิดสิทธิดังกล่าวสามารถร้องเรียนได้ที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นอกจากนี้ นายจ้างจะต้องปฏิบัติกับแรงงานทั้งเพศชายและเพศหญิงอย่างเท่าเทียมกัน ยกเว้นในกรณีของงานที่ไม่สามารถปฏิบัติได้
การเปลี่ยนนายจ้าง
โดยปกติแล้ว หากเป็นแรงงานต่างด้าวที่มีใบอนุญาตและเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ในบางกรณี ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่นายจ้างล้มละลาย, สภาพการทำงานเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพ, นายจ้างเลิกจ้าง หรือนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างตามสัญญา เป็นต้น
การคุ้มครองทางกฎหมาย
หากมีการจ้างแรงงานต่างด้าวแบบถูกกฎหมาย สิ่งหนึ่งที่นายจ้างจะต้องรู้ นั่นคือการคุ้มครองทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 ตัวอย่างเช่น นายจ้างห้ามยึดเอกสารส่วนตัวของแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น หนังสือเดินทาง หรือใบอนุญาตทำงาน เป็นต้น
ทำความเข้าใจเงื่อนไขของการคุ้มครองแรงงานต่างด้าว
แน่นอนว่าไม่ใช่แรงงานต่างด้าวทุกคนที่จะได้รับสิทธิของผู้ใช้แรงงานดังกล่าว เนื่องจากเงื่อนไขในการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวที่สามารถขึ้นทะเบียนในระบบประกันสังคม และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย มีดังนี้
แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานภายใต้ระบบ MOU หรือขึ้นทะเบียนแรงงานตามมติ ครม. อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
แรงงานต่างด้าวที่มีหนังสือเดินทาง (Passport) และ ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)
แรงงานต่างด้าวที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ โดยจะต้องมีหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคล และมีใบอนุญาตทำงาน
นอกจากแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในเงื่อนไขข้างต้น ซึ่งเป็นการเข้ามาทำงานในประเทศผ่าน MOU หรือขึ้นทะเบียนตามมติ ครม. อย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ยังมีกรณีของแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้ามาทำงานประเทศไทย แต่ได้รับการผ่อนผันที่สามารถทำงานชั่วคราวได้ ในกรณีแรงงานดังกล่าวหากมีการบาดเจ็บจากการทำงาน สามารถแจ้งไปที่เจ้าหน้าที่ประกันสังคม เพื่อดำเนินการให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทนได้ ซึ่งจะได้รับเท่ากับเงินทดแทนที่แรงงานคนไทยพึงได้รับ
ทำไมควรจ้างแรงงานต่างด้าวผ่าน MOU
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าเงื่อนไขหนึ่งของแรงงานต่างด้าวที่สามารถขึ้นทะเบียนในระบบประกันสังคม และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายคือ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานผ่านระบบ MOU ขึ้นทะเบียนแรงงานตามมติ ครม. เนื่องจากเป็นการเข้ามาทำงานภายในประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมายและมีสถานะทางกฎหมายที่ชัดเจน
โดยที่แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานผ่าน MOU จะได้รับการคุ้มครองสิทธิของแรงงานต่าง ๆ ที่มีการกำหนดไว้ตามกฎหมาย และเป็นการจ้างงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ลดความเสี่ยงที่จะถูกดำเนินคดี เนื่องจากการจ้างงานแบบผิดกฎหมายมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 - 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน หากมีการทำผิดซ้ำจะมีโทษถึงจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 - 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนคนต่างด้าวที่ลักลอบทำงานแบบผิดกฎหมายจะมีโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท และถูกส่งตัวกลับประเทศต้นทาง
บทสรุป
ในประเทศไทยมีการระบุเกี่ยวกับสิทธิแรงงานต่างด้าว มีอะไรบ้าง? เพื่อให้เป็นการจ้างงานที่มีความเป็นธรรมและเสมอภาค เนื่องจากการคุ้มครองสิทธิของแรงงานต่างด้าวมีความสำคัญไม่แพ้แรงงานคนไทย จึงต้องมีการคุ้มครองและรักษาสิทธิอย่างเหมาะสมและเท่าเทียม เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
สำหรับนายจ้างหรือเจ้าของกิจการคนไหนที่ต้องการจ้างคนต่างด้าวเข้ามาทำงานภายในประเทศอย่างถูกกฎหมายสามารถติดต่อบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ A.A.A. ADVANCE ซึ่งได้มีการคัดสรรและนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างละเอียดถี่ถ้วน เนื่องจากเราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดเอกสารแรงงานต่างด้าว ดูแลทุกขั้นตอนการบริการอย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
- Administrator
- Dec 19, 2024
รู้ข้อดีการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมาย
อ่านต่อ- Administrator
- Feb 25, 2025
แรงงานต่างด้าวคลอดบุตรในไทย ต้องทำอย่างไร? สิทธิและขั้นตอนที่ควรรู้
อ่านต่อ- Administrator
- Sep 13, 2024
เรื่องควรรู้ก่อนจ้างงาน! แรงงานต่างด้าว ต้องมีประกันสุขภาพหรือไม่
อ่านต่อ- Administrator
- Sep 11, 2024
เช็กด่วน! 6 เอกสารที่แรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายจำเป็นต้องมี ในปี 2024
อ่านต่อ- Administrator
- Aug 16, 2024