บุคคลธรรมดา สามารถมีแรงงานต่างด้าวได้ไม่เกินกี่คน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากลุ่มแรงงานต่างด้าวได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เพราะนอกจากจะเป็นแรงงานสำคัญแล้ว ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมานี้ แรงงานต่างด้าวยังเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยอีกด้วย โดยสาเหตุว่าทำไมการรับคนงานต่างด้าวเข้าทำงานในประเทศไทยถึงเป็นที่ต้องการอย่างมาก ซึ่งเป็นเพราะว่าอาชีพบางประเภทมีแรงงานชาวไทยไม่เพียงพอ เพราะเป็นอาชีพที่แรงงานไทยไม่ต้องการทำ ไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้าง งานบริการ หรืองานแบกหาม เป็นต้น
โดยบทความนี้เราจะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการรับคนงานต่างด้าว ต้องทำอย่างไร รายละเอียดการประกอบอาชีพงานที่ชาวต่างชาติทำได้คืออะไรบ้าง พร้อมคำตอบว่าบุคคลธรรมดาจ้างแรงงานต่างด้าวได้สูงสุดกี่คน และมีเงื่อนไขการจ้างงานอย่างไร ตามไปดูพร้อม ๆ กันในบทความ
แรงงานต่างด้าวคือใคร?
ก่อนที่เราจะไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับบุคคลธรรมดาจ้างแรงงานต่างด้าวได้กี่คน เราจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าแรงงานต่างด้าวคือใคร โดยแรงงานต่างด้าวเป็นกลุ่มบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย แต่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย เพื่อทำงานหาเลี้ยงชีพ ด้วยการใช้ความสามารถของตนเอง ทั้งความรู้ แรงกาย หรือทักษะต่าง ๆ ในการทำงานให้บรรลุความสำเร็จ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนเป็นเงิน ไปจนถึงสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ตามข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือค่าคอมมิชชั่น เป็นต้น
โดยแรกเริ่มเดิมทีในยุคสมัยอดีต หรือการล่าอาณานิคม ‘แรงงานต่างด้าว’ มักใช้เรียกกลุ่มแรงงานทาส หรือเหล่าเชลยศึกที่แพ้สงคราม เพื่อนำมาทำงาน ใช้แรงงานในประเทศ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประหยัดทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างมาก แต่กระนั้น ความหมายของคำว่า ‘แรงงานต่างด้าว’ ในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหมายถึงกลุ่มแรงงานลูกจ้างจากประเทศต่าง ๆ ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยเป็นการทำงานสุจริตและถูกกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม เชื่อได้เลยว่าหลายคนยังคงเข้าใจว่าแรงงานต่างด้าวคือกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน แต่จริง ๆ แล้วไม่เลย เพราะแรงงานต่างด้าวยังควบรวมไปถึงแรงงานลูกจ้างทุกคนจากทุกประเทศ ทั้งอังกฤษ ญี่ปุ่น หรือเกาหลี หากเข้ามาทำงานในประเทศไทยก็หมายถึงแรงงานต่างด้าวเช่นเดียวกันหมด แต่กระนั้น จำเป็นต้องอยู่บนหลักเกณฑ์ตามความหมายที่กำหนดด้วย
นำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อย่างไรบ้าง?
ตามพระราชกำหนดการบริการจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ปีพุทธศักราช 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2561 ได้กำหนดให้การนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศไทยได้ 2 วิธีหลัก ๆ ด้วยกัน หนึ่งคือการที่นายจ้างบุคคลธรรมดาจ้างแรงงานต่างด้าวด้วยตนเอง หรือก็คือเป็นผู้ดำเนินการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับตนในประเทศด้วยตัวเอง และวิธีที่สองคือ นายจ้างนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับคนในประเทศ โดยผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน
บุคคลธรรมดาจ้างแรงงานต่างด้าวได้กี่คน?
หากกล่าวกันตามตรงแล้ว ไม่สามารถตอบได้อย่างชัดเจนมากนักว่าบุคคลธรรมดาจ้างแรงงานต่างด้าวได้สูงสุดเป็นจำนวนกี่คน เนื่องจากการจ้างแรงงานต่างด้าวมีเงื่อนไขและรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป ตามกลุ่มอาชีพ ประเภทบริษัท หรือนายจ้าง แต่สำหรับการพิจารณาออกใบอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวทำงานกับนายจ้างผู้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขคุณสมบัตินายจ้างแรงงานต่างด้าวอยู่ 3 ส่วน ประกอบไปด้วย
นายจ้างบุคคลธรรมดาจ้างแรงงานต่างด้าว โดยมีรายได้จากการประกอบกิจการในรอบปีที่ผ่านมา หรือปีปัจจุบัน ทุก ๆ เจ็ดแสนบาท สามารถจ้างแรงงานต่างด้าวได้ตั้งแต่หนึ่งคนเป็นต้นไป แต่ไม่เกินสามคน
นายจ้างบุคคลธรรมดาที่ได้ชำระภาษีเงินได้ให้แก่ทางรัฐบาลในรอบปีที่ผ่านมาทุก ๆ ห้าหมื่นบาท สามารถจ้างแรงงานต่างด้าวได้ไม่เกินสามคน เช่นเดียวกับส่วนแรก
นายจ้างบุคคลธรรมดาที่มีการจ้างแรงงานชาวไทยทุก ๆ 4 คน สามารถจ้างแรงงานต่างด้าวได้หนึ่งคนและไม่เกินสามคนเช่นเดียวกัน หรือกล่าวให้เข้าใจก็คือ คนต่างด้าว 1 คน ต้องจ้างพนักงานคนไทยทำงานประจำ 4 คน ด้วยถึงจะผ่านหลักเกณฑ์การจ้างงาน
อย่างไรก็ตาม สำหรับบุคคลธรรมดาจ้างแรงงานต่างด้าวผู้ขอใบอนุญาตมีคู่สมรสเป็นคนไทย ซึ่งจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายและอยู่ร่วมกินกันเป็นสามีภรรยาโดยเปิดเผย ตามหลักเกณฑ์ความในวรรคหนึ่งให้ลดลงครึ่งหนึ่ง
ไม่ควรพลาด! หากไม่อยากจ้างแรงงานต่างด้าวทำงานผิดประเภท
สำหรับบุคคลธรรมดาจ้างแรงงานต่างด้าวจะต้องเป็นกลุ่มอาชีพที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบันนี้ อาชีพที่แรงงานต่างด้าวสามารถทำได้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น แต่ยังคงยึดตามความเหมาะสมสำหรับการจ้างงาน และตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ปี 2560 เพื่อให้ไม่เบียดเบียนกลุ่มอาชีพและโอกาสการหางานของแรงงานชาวไทย โดยกำหนดให้งานที่ชาวต่างชาติทำได้ทั้งหมด 12 อาชีพด้วยกัน และแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
แบบไม่มีเงื่อนไข
กลุ่มอาชีพที่นายจ้างธรรมดาจ้างแรงงานต่างด้าวได้โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ในปัจจุบันมีเพียงอาชีพเดียวเท่านั้นคือ ‘กรรมกร’ อาชีพผู้ใช้แรงงานด้วยพละกำลังความสามารถของตนเองในการแบกหามต่าง ๆ เป็นต้น
แบบมีเงื่อนไข
สำหรับอาชีพที่อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวสามารถทำได้รูปแบบที่สองนี้มีเงื่อนไขคือ แรงงานต่างด้าวต้องเป็นลูกจ้าง และเป็นงานที่ขาดแคลนแรงงาน โดยสามารถทำได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อไม่กระทบต่อโอกาสการทำงานของแรงงานชาวไทย ซึ่งประกอบไปด้วย 8 อาชีพ ได้แก่
กสิกรรม เลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ ควบคุมฟาร์ม หรืองานประมง (ยกเว้นงานที่ต้องใช้ความชำนาญการเฉพาะสาขานั้น ๆ)
งานก่ออิฐ ช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น ๆ
งานทำที่นอก ฟูก ผ้าห่ม
งานทำมีด
งานทำรองเท้า
งานทำหมวก
งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย
งานปั้นหรือการทำเครื่องปั้นดินเผา
แบบมีเงื่อนไข ตามข้อตกลงระหว่างประเทศอาเซียน
- เป็นกลุ่มอาชีพที่บุคคลธรรมดาจ้างแรงงานต่างด้าวได้ โดยเงื่อนไขคือ แรงงานต่างด้าวผู้นั้นจำเป็นต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายไทยก่อน จึงจะสามารถยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานได้ ซึ่งประกอบด้วย 3 อาชีพ ได้แก่
- นักบัญชี ควบคุม ตรวจสอบ ปฏิบัติงาน หรือให้บริการทางบัญชี (ยกเว้นการตรวจสอบภายในเป็นครั้งคราว งานตามข้อตกลงหรือพันธกรณีที่ประเทศไทยมีความผูกพัน โดยที่สภาวิชาชีพบัญชีเป็นผู้ให้การรับรองคุณสมบัติ)
- วิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการคำนวณ จัดระบบ การวิจัย การวางโครงสร้าง การทดสอบ ควบคุมการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ (ยกเว้นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน รวมไปถึงข้อตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการวิศวกรรมข้ามแดน หรือผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธาตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรรม)
- ประเภทงานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การประมาณราคา อำนวยการก่อสร้าง หรือการให้คำแนะนำ (ยกเว้นผู้ประกอบวิชาชีพตามข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน)
หาคนงานต่างด้าวที่ได้บ้าง ถูกต้องและปลอดภัย
จากที่กล่าวไปในบทความข้างต้น แรงงานต่างด้าวหมายถึงกลุ่มแรงงานจากทุกประเทศที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย แต่กระนั้น ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าวมักจะเป็นแรงงานชาวลาว กัมพูชา และพม่าเป็นหลัก โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพที่ต้องอาศัยกำลัง ความแข็งแรงของร่างกาย ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ แรงงานต่างด้าวทั้งสามประเทศที่กล่าวไปจึงพบเห็นได้มากที่สุดในประเทศไทยนั่นเอง
ซึ่งเพื่อให้การจ้างแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย จึงมีการทำสัญญา MOU: Memorandum Of Understanding กับทุกประเทศที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นแล้ว สำหรับใครที่กำลังมองหาคนงานต่างด้าวถูกกฎหมายหรือต้องการนำเข้าแรงงานต่างด้าวจำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของ MOU อย่างเคร่งครัด เริ่มต้นโดยการยื่นแบบคำร้องการทำ Name List จากนั้นหน่วยงานจากประเทศต้นทางจะดำเนินการตามขั้นตอน ก่อนจะมีการทำเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้แรงงานต่างด้าวสามารถเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม ด้วยความยุ่งยาก ซับซ้อนและละเอียดอ่อนของขั้นตอนการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน รวมถึงไม่รู้ว่าจะหาคนงานต่างด้าวได้ที่ไหน? จะดีกว่าไหมหากเลือก A.A.A ADVANCE เป็นผู้ดำเนินการให้ เพราะเราเป็นบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศที่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้องกับกรมแรงงาน ให้บริการดำเนินการต่าง ๆ แทนนายจ้าง เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าพบตรวจสอบเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโดยตรงได้ที่เบอร์ 02-530-9455
บทสรุป
แม้ว่าในปัจจุบันนี้จะมีกลุ่มแรงงานต่างด้าวจำนวนมากเข้ามาทำงานในประเทศไทย และเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าว หรือกำลังหาคนงานต่างด้าวได้ที่ไหนไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาดคือ ความถูกต้อง เพราะหากดำเนินการนำเข้าแรงงานต่างด้าวแบบผิดกฎหมาย แม้ว่าจะไม่ได้ลักลอบนำเข้า แต่หากผิดวิธีและขั้นตอนก็อาจจะทำให้กลายเป็นผู้กระทำความผิดโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นแล้ว ผู้ประกอบการหรือนายจ้างควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานให้ละเอียดและครบถ้วนก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงการทำความผิดที่เสี่ยงต่อการสูญเสีย ทั้งการเสียเวลา เสียเงิน หรือหนักสุดอาจจะติดคุกได้เช่นเดียวกัน
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
- Administrator
- Sep 13, 2024
เรื่องควรรู้ก่อนจ้างงาน! แรงงานต่างด้าว ต้องมีประกันสุขภาพหรือไม่
อ่านต่อ- Administrator
- Dec 19, 2024
รู้ข้อดีการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมาย
อ่านต่อ- Administrator
- Aug 16, 2024
บริการของบริษัท นำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ เอ.เอ.เอ. แอดวานซ์ จำกัด
อ่านต่อ- Administrator
- Feb 25, 2025
แรงงานต่างด้าวคลอดบุตรในไทย ต้องทำอย่างไร? สิทธิและขั้นตอนที่ควรรู้
อ่านต่อ- Administrator
- Sep 11, 2024