เช็กให้ชัวร์! แรงงานต่างด้าว ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง

การจ้างแรงงานต่างด้าวให้เข้ามาทำงานในประเทศไทย ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องสำหรับธุรกิจหรือกิจการต่าง ๆ ภายในประเทศอย่างมาก เนื่องจากเป็นหนึ่งในวิธีการลดต้นทุนแรงงานที่นายจ้างเลือกที่จะใช้ในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะในยุคที่เศรษฐกิจมีความผันแปรอยู่ตลอดเวลา การจ้างแรงงานต่างด้าวจึงถือเป็นหนึ่งในทางเลือกที่มีความสำคัญสำหรับการลดต้นทุนแรงงาน ทำให้ธุรกิจมีการเติบโตมากยิ่งขึ้น 

ทำไมธุรกิจในไทยนิยมจ้างแรงงานต่างด้าว

ทำไมธุรกิจในไทยนิยมจ้างแรงงานต่างด้าว

ต้องบอกเลยว่าการจ้างแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในประเทศไทย เป็นกระบวนการจ้างงานที่มีมาตั้งแต่ในอดีต และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าแรงงานต่างด้าว ถือเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจในประเทศไทย ที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและกิจการต่าง ๆ ภายในประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น 

นอกจากเรื่องของการลดต้นทุนแรงงานของนายจ้างแล้ว ในประเทศยังประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานไร้ทักษะ หรืองานประเภท 3D ได้แก่ Difficult (งานหนัก), Dirty (งานสกปรก) และ Dangerous (งานอันตราย) เนื่องจากแรงงานประเทศไทยมีการเลือกงานเยอะขึ้น และเลือกทำงานที่ได้รับค่าตอบแทนอย่างคุ้มค่า ซึ่งจะเน้นงานที่ต้องใช้ทักษะสูง หรืองานที่มีความมั่นคง หลาย ๆ ธุรกิจหรือกิจการในประเทศไทยจึงเลือกที่จะจ้างแรงงานต่างด้าวมากกว่าแรงงานคนไทย

การจ้างแรงงานต่างด้าวแบบถูกกฎหมาย

สำหรับนายจ้างคนไหนที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวแบบถูกกฎหมาย เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะได้รับโทษตามกฎหมายจนอาจเกิดเป็นปัญหาตามมาในอนาคต ควรจะเลือกจ้างแรงงานต่างด้าวภายใต้ MOU (Memorandum Of Understanding) ซึ่งการทำ MOU คือ การทำสัญญาและข้อตกลงระหว่างสองฝ่าย ซึ่งจะเป็นการทำสัญญาระหว่างประเทศต้นทางของแรงงานกับทางรัฐบาลไทย เพื่อให้มีข้อตกลง เงื่อนไข และข้อปฏิบัติที่เป็นไปตามกระบวนการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และหากมีการตรวจสอบว่ากิจการใด ๆ ที่จ้างแรงงานต่างด้าวที่มีการลักลอบเข้ามาทำงานภายในประเทศ หรือเป็นคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน ก็จะตามมาด้วยโทษทางกฎหมายสำหรับทั้งนายจ้างและแรงงานด้วยเช่นกัน

เอกสารสำหรับแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย

เอกสารสำหรับแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย

สำหรับแรงงานต่างด้าวที่มีการนำเข้าแรงงานภายใต้ระบบ MOU หรือขึ้นทะเบียนแรงงานตามมติ ครม. จะมีเอกสาร ดังนี้

  • หนังสือเดินทาง หรือ Passport

  • หากไม่มี Passport จะต้องใช้เอกสารแทนหนังสือเดินทาง ที่มีตราประทับ Non Immigrant L-A และจะต้องเป็นเอกสารที่ยังไม่หมดอายุ

  • เอกสารตรวจลงตราอนุญาตเข้าประเทศไทย หรือ Visa ที่ยังไม่หมดอายุ

  • ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) เล่มสีน้ำเงิน หรือใบอนุญาตทำงานที่ยังไม่หมดอายุ ซึ่งภายในเอกสารจะต้องมีการระบุนายจ้างตรงกับสถานที่ทำงานปัจจุบัน

  • เอกสารที่แสดงถึงการลงทะเบียนเข้าประเทศ (Registration) อย่างถูกต้อง

  • ใบรับรองสุขภาพว่าไม่เป็นผู้ที่มีโรคต้องห้าม ซึ่งได้มีการกำหนดไว้จากสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองในประเทศไทย

  • บัตรประจำตัวซึ่งไม่มีสัญชาติไทย สำหรับคนต่างด้าวจะเป็นบัตรสีชมพู (เฉพาะกรณีต่างด้าวขึ้นทะเบียนตามมติ ครม.)

  • เอกสารประกันสุขภาพหรือประกันสังคม ซึ่งจะเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายไทย

(อ่านเพิ่มเติม: เช็กให้ชัวร์! แรงงานต่างด้าว ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง)

บทสรุป

เอกสารสำหรับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย เป็นสิ่งสำคัญที่นายจ้างจะต้องตรวจสอบให้มั่นใจก่อนตัดสินใจจ้างงาน เนื่องจากเป็นเอกสารที่บ่งบอกถึงการเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพราะเชื่อว่าไม่มีนายจ้างคนไหนที่อยากจะรับโทษทางกฎหมาย เมื่อมีการตรวจพบว่าจ้างแรงงานต่างด้าวแบบผิดกฎหมาย หรือไมมีใบอนุญาตการทำงาน เพราะอาจจะตามมาด้วยปัญหาอื่น ๆ ที่สร้างความเดือดร้อนและสร้างปัญหาให้กับกิจการตามมาได้

แม้ว่าปัจจุบันจะสามารถยื่นคำขอและนำเข้าแรงงานต่างด้าวแบบถูกกฎหมายภายใต้ MOU ด้วยตัวเองได้ แต่การเลือกนำเข้าแรงงานต่างด้าวผ่านบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศที่ได้จดทะเบียนถูกต้องกับกรมแรงงาน จะช่วยเข้ามาจัดการกับเอกสาร กฎระเบียบการนำเข้าแรงงาน และกระบวนการนำเข้าแรงงานอย่างครบวงจร จะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายของนายจ้างได้ เรียกได้ว่ามีความสะดวกสบายกว่าการดำเนินการด้วยตัวเองอย่างแน่นอน สำหรับนายจ้างคนไหนที่สนใจการจ้างแรงงานต่างด้าว สามารถติดต่อได้ที่ A.A.A. ADVANCE หรือติดต่อสอบถามเบื้องต้นได้ที่เบอร์ 02-530-9455

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

รับทำเว็บไซต์ by SiNGHADEVELOP CO.,LTD.