CI คืออะไร? สำคัญอย่างไรสำหรับแรงงานต่างด้าวในไทย?

อย่างที่ทราบกันดีว่าในประเทศไทยมีกลุ่มแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานจำนวนไม่น้อยเลย ซึ่งข้อดีของกลุ่มแรงงานต่างด้าวนอกจากการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานแล้ว ยังเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยอีกด้วย โดยการขับเคลื่อนการทำงานให้ออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงบางอาชีพที่แรงงานชาวไทยไม่นิยมเลือกทำกันก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ผู้ประกอบการหลายท่านเลือกรับแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานแทน

โดยกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยมีอยู่หลากหลายสัญชาติ ทั้งลาว กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม หรือแม้แต่แรงงานต่างด้าวสัญชาติอังกฤษก็มีอยู่เช่นเดียวกัน แต่กระนั้น หากพูดถึงสัญชาติแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทยมากที่สุดคงหนีไม่พ้นสัญชาติเมียนมา ซึ่งหนังสือรับรองบุคคล CI จึงเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับการยืนยันและรับรองสัญชาติ เพื่อป้องกันการลักลอบทำงานในไทยแบบผิดกฎหมาย

ประเภทของพาสปอร์ตพม่า

มั่นใจได้เลยว่าคนส่วนใหญ่ไม่รู้อย่างแน่นอนว่าพาสปอร์ตพม่ามีกี่ประเภท ซึ่งแม้แต่ประชาชนชาวเมียนม่าก็อาจจะยังไม่ทราบเช่นกัน โดยพาสปอร์ตเมียนม่าตามที่กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศประเภทของสีต่าง ๆ ให้กับพลเมืองชาวเมียนมา แบ่งออกได้เป็น 9 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

  • พาสปอร์ตประเภท PB: Passport for Business

  • พาสปอร์ตประเภท PT: หนังสือเดินทางสำหรับผู้ติดตาม

  • พาสปอร์ตประเภท PJ: Passport for Jobs

  • พาสปอร์ตประเภท PR: หนังสือเดินทางทางศาสนา

  • พาสปอร์ตประเภท PS: หนังสือเดินทางของคนเดินเรือ

  • พาสปอร์ตประเภท PE: หนังสือเดินทางนักเรียน

  • พาสปอร์ตประเภท PV: Passport for Visit

  • พาสปอร์ตประเภท PD: หนังสือเดินทางทูตและ

  • พาสปอร์ตประเภท PO: หนังสือเดินทางราชการ

ทำความรู้จัก CI คืออะไร?

หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า CI ย่อมาจากอะไร? โดย Certificate of Identify หรือ CI คือเอกสารหรือหนังสือรับรองบุคคลทั่วไป โดยส่วนใหญ่แล้วมักเรียกกันให้เข้าใจง่ายว่า Passport CI ‘พาสปอร์ตสีเขียว’ หรือบางคนอาจจะเรียกว่า ‘บัตรสีเขียว’ นั่นเอง เนื่องจากตัวหน้าปกเป็นสีเขียว ซึ่งเอกสาร CI นี้เป็นเอกสารแสดงตนของแรงงานต่างด้าวผู้นั้นว่าได้รับการรับรองสัญชาติจากประเทศพม่า จากทางการโดยตรง ซึ่งมีสิทธิอยู่และขออนุญาตทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

รายละเอียดข้อมูลบนหนังสือรับรองบุคคล CI เมียนมา เล่มเขียว

CI คือ หนังสือรับรองบุคคลที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับบัตรประชาชนที่เราคุ้นเคยกันดี โดยมีรูปหน้าผู้ถือครองพร้อมกับรายละเอียดข้อมูลส่วนตัว ๆ ที่ครบถ้วน ซึ่งสามารถใช้ยืนยันตัวตนและรับรองบุคคลได้ว่าเป็นแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาจริง ๆ โดยประกอบไปด้วยข้อมูลทั้งหมด 10 ส่วนด้วยกัน ได้แก่

  • รูปหน้าแรงงาน

  • ชื่อและนามสกุล

  • สัญชาติ

  • เพศ

  • สถานที่เกิด

  • วันเดือนปีเกิด

  • วันที่ออก

  • วันหมดอายุ

  • สถานที่ออก CI

  • เลขประจำตัว CI

ทำไมต้องทำ CI?

หนังสือรับรองบุคคล CI คือเอกสารรับรองที่เกิดขึ้นมาจากความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทย โดยกระทรวงแรงงานและรัฐบาลเมียนมา โดยมีจุดประสงค์คือการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศไทยแบบผิดกฎหมายตามตะเข็บชายแดนจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งเป็นการขึ้นทะเบียนพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวสำหรับการทำหนังสือเดินทางข้ามประเทศที่ถูกต้องตามกฎหมายในขั้นตอนต่อไป และหลังจากที่แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาได้ผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแล้ว ต้องนำหนังสือรับรอง CI ไปตรวจลงประทับตราวีซ่า (Visa) เพื่อให้สามารถอยู่ในประเทศไทยได้นั่นเอง

หนังสือรับรองบุคคล CI อยู่ได้กี่ปี?

หลังจากที่แรงงานต่างด้าวชาวพม่าได้รับการยืนยันตัวตนจากทางฝั่งรัฐบาลประเทศพม่าเรียบร้อยแล้ว จะได้รับเอกสารรับรองบุคคล CI ถูกต้องตามรายละเอียดทั้งหมด โดยอายุการใช้งานของ CI คือ 4 ปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับ ซึ่งหมายความว่าแรงงานต่างด้าวชาวพม่าสามารถใช้เอกสาร CI สำหรับการทำงานในประเทศไทยได้ 4 ปีนั่นเอง

สถานที่ศูนย์พิสูจน์สัญชาติเมียนมา ประจำปี 2567

  1. จังหวัดชลบุรี สถานที่ตั้ง ตลาดนัดสยามนินจา(โป่งตามุข) 116 หมู่ 1 ตำบลหนองหงษ์ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี

  2. จังหวัดเชียงใหม่ สถานที่ตั้ง อาคารไดนาสตี้แลนด์ 34-34 หมู่ 6 ตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

  3. จังหวัดนครสวรรค์ สถานที่ตั้ง 127 หมู่ 2 ตำบลกลางแดด อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

  4. จังหวัดปทุมธานี สถานที่ตั้ง ตลาดกลางเกษตรอินทรีย์ท้ายเกาะ BO26-30 55/21 หมู่ 4 ตำบลท้ายเกาะ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

  5. จังหวัดสงขลา สถานที่ตั้ง ตลาดฟุกเทียน 99 หมู่ 3 ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

  6. จังหวัดสมุทรปราการ สถานที่ตั้ง 339/2 หมู่ 9 ซอยสุขสวัสดิ์ 74 ตำบลบางจาก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

  7. จังหวัดสมุทรสาคร สถานที่ตั้ง ตลาดทะเลไทย 1/2 หมู่ 1 ถนนพระราม 2 ตำบลท่าจีน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

  8. จังหวัดสุราษฎร์ธานี สถานที่ตั้ง มหาวิทยาลัยตาปี วิทยาเขตพุนพิน 45/45 หมู่ 1 ตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เอกสารที่ใช้สำหรับการทำเล่ม CI คืออะไรบ้าง?

เพื่อความสะดวกรวดเร็วและง่ายต่อการดำเนินการที่สุดสำหรับการทำเล่ม CI ทางแรงงานต่างด้าวชาวพม่าจำเป็นต้องเตรียมเอกสารสำคัญต่าง ๆ ให้ครบถ้วน เพื่อการเสียเวลาในการดำเนิการใหม่หลาย ๆ ครั้ง นอกจากนี้ทางนายจ้างก็จำเป็นต้องเตรียมเอกสารด้วยเช่นเดียวกัน โดยเอกสารสำหรับทำเล่ม CI ประกอบไปด้วย ดังนี้

เอกสารสำหรับแรงงานต่างด้าว

  1. หนังสือรับรองสถานะบุคคล CI (ถ้ามี)

  2. สำเนาใบอนุญาตทำงาน

  3. รูปถ่ายขนาด 1.5 นิ้ว จำนวน 3 รูป

  4. บัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านที่ประเทศพม่า (ถ้ามี)

เอกสารสำหรับนายจ้าง

  1. หนังสือรับรองบริษัท อายุไม่เกิน 3 เดือน (เฉพาะนิติบุคคล)

  2. สำเนาบัตรประชาชน

  3. สำเนาทะเบียนบ้าน

ข้อควรระวังเกี่ยวกับ หนังสือรับรองบุคคล CI

เชื่อเลยว่าหลายคนยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับหนังสือรับรองบุคคล CI สามารถใช้เดินทางเข้า-ออกได้หลายประเทศ แต่จริง ๆ แล้ว หนังสือรับรองบุคคล (Certificate of Identify) สามารถใช้เพื่อเดินทางเข้า-ออกประเทศไทยและประเทศเมียนมาได้เท่านั้น เปรียบเสมือนหนังสือเดินทางอื่น ๆ ตามปกติ

CI ต่างจากหนังสือเดินทาง PJ Inter Passport อย่างไร

หนังสือเดินทาง PJ Inter Passport หรือเรียกง่าย ๆ ว่าหนังสือเดินทาง เล่มสีแดง PJ เป็นเอกสารสำคัญประจำตัวที่ออกโดยรัฐบาลเมียนมา เพื่อใช้เป็นเอกสารที่รับรองสัญชาติของผู้ถือเอกสาร สำหรับการแสดงตนในการเดินทางไปยังต่างประเทศ ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งการท่องเที่ยว การทำงาน หรือแม้แต่การประกอบธุรกิจ โดยมีอายุการใช้งานอยู่ที่ 5 ปี ต่างจากหนังสือรับรองบุคคล CI ที่มีอายุการใช้งานเพียง 4 ปี

นอกจากนี้ อีกหนึ่งความแตกต่างที่สำคัญระหว่างหนังสือเดินทาง PJ และหนังสือรองรับบุคคลในพื้นที่ CI คือ การเดินทางเข้าออกประเทศ โดยหนังสือเดินทาง PJ สามารถใช้เดินทางเข้าออกประเทศไทย ประเทศเมียนมา ไปจนถึงประเทศที่ 3 ได้ แต่กลับกัน หนังสือรับรองบุคคล CI ใช้ได้เพียงประเทศไทยและประเทศเมียนมาเท่านั้น

การทำเล่ม CI มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

หลัก ๆ แล้วขั้นตอนการทำเล่ม CI ประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ การดำเนินการก่อนเข้าศูนย์ และการดำเนินการ ณ ศูนย์บริหารจัดการทำงานของแรงงานต่างด้าว อย่างไรก็ตาม หากต้องการข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานจัดหางานประจำจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 10 หรือสอบถามสายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694

ขั้นตอนที่ 1 การดำเนินการก่อนเข้าศูนย์

เตรียมเอกสารสำคัญให้ครบถ้วน ประกอบไปด้วย สำเนาหลักฐานการได้รับอนุญาตทำงานถึงปัจจุบันที่มีเลขประจำตัวและเลขที่ใบอนุญาตทำงาน และค่าธรรมเนียมเอกสารรับรองบุคคล CI จากทางรัฐบาลเมียนมา (ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 ตุลาคม 2566) จากนั้นแรงงานต่างด้าวติดต่อชำระค่าธรรมเนียม การออกเอกสารรับรองบุคคล และนัดวันเข้าศูนย์ ณ จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส

ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินการ ณ ศูนย์บริหารจัดการทำงานของแรงงานต่างด้าว

  1. เจ้าหน้าที่กรมการจัดหางานตรวจสอบหลักฐานแรงงานต่างด้าว 

  • สำเนาหลักฐานการได้รับอนุญาตทำงาน

  • หลักฐานการประกันสุขภาพ

  1. เจ้าหน้าที่ทางการเมียนมาออกหนังสือรับรองบุคคล CI

  • ตรวจสอบหลักฐาน 

  • เก็บข้อมูล 

  • ออกเอกสารรับรองบุคคล CI 

  • ออกบัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าว OWIC

  1. เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง จัดเก็บอัตลักษณ์

  • แบบฟอร์ม ตม.6 และตม.87

  • รูปถ่าย 1.5 นิ้ว 2 รูป

  • เอกสารรับรองบุคคล CI

  • สำเนาหลักฐานการได้รับอนุญาตทำงาน และเอกสารนายจ้าง

  • ค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรง 500 บาท

  • หลักฐานการจัดเก็บอัตลักษณ์ ในกรณีที่มี

  1.  เจ้าหน้าที่กรมการจัดหางานปรับปรุงข้อมูลแรงงานในระบบ

  • ให้คำปรึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

  • ปรับปรุงข้อมูล เลขที่ / วันออกเอกสาร / วันหมดอายุ และเอกสารรับรองบุคคล CI

บทสรุป

ดังนั้นแล้ว หากแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา หรือผู้ประกอบการท่านไหนที่ไม่ต้องการทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว หรือการลักลอบนำเข้าแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายเข้ามาทำงาน หนังสือรับรองบุคคล CI จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะจะช่วยยืนยันตัวตนของแรงงานต่างด้าวว่าเป็นสัญชาติเมียนมาหรือไม่ อีกทั้งยังคล้ายกับหนังสือเดินทางเข้า-ออกประเทศไทยและประเทศพม่าอย่างถูกกฎหมายอีกด้วย 

A.A.A ADVANCE บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศที่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้องกับกรมแรงงาน ให้พร้อมบริการดำเนินการต่าง ๆ แทนนายจ้าง เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าแรงงานต่างด้าว หรือการต่อวีซ่า เป็นต้นสำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าพบตรวจสอบเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโดยตรงได้ที่เบอร์ 02-530-9455

Powered by Froala Editor

รับทำเว็บไซต์ by SiNGHADEVELOP CO.,LTD.