แรงงานต่างด้าวคลอดบุตรในไทย ต้องทำอย่างไร? สิทธิและขั้นตอนที่ควรรู้
แรงงานต่างด้าวคลอดบุตรในไทย อาจเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับแรงงานและนายจ้างจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะในกรณีที่ยังไม่รู้ถึงสิทธิต่าง ๆ ที่แรงงานต่างด้าวจะได้รับ ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้สำหรับการคลอดลูกในไทย รวมถึงลูกแรงงานต่างด้าวที่เกิดในไทยมีสิทธิอะไรบ้าง? ซึ่งล้วนเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะในสังคมไทยในปัจจุบันที่มีแรงงานต่างด้าวอยู่ในหลาย ๆ ธุรกิจหรือกิจการ เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น
บทความนี้จะมาบอกต่อข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวคลอดบุตรในไทยที่ทั้งแรงงานต่างด้าวและนายจ้างควรรู้ เนื่องจากเป็นสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่แรงงานทุกคนที่มีการเข้าสู่ระบบประกันสังคมอย่างถูกกฎหมายพึงได้รับ รวมถึงการเตรียมเอกสารต่าง ๆ และขั้นตอนการยื่นขอรับสิทธิค่าคลอดบุตร ซึ่งในบทความนี้จะมาไขทุกข้อสงสัยของคุณ!
สิทธิการคลอดบุตรในไทยของแรงงานต่างด้าว
หนึ่งในคำถามที่พบบ่อยนั่นคือต่างด้าวคลอดลูกในไทย ค่าใช้จ่ายแพงหรือไม่? หรือมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่? บอกได้เลยว่าหากเป็นแรงงานต่างด้าวที่มีการเข้ามาทำงานภายใต้ระบบ MOU หรือก็คือการเข้ามาทำงานภายในประเทศแบบถูกกฎหมาย แรงงานต่างด้าวในกลุ่มดังกล่าวจะได้รับสิทธิคุ้มครองจากรัฐบาลที่มีการครอบคลุมไปถึงค่าใช้จ่ายในการคลอดลูกในประเทศไทยด้วยเช่นกัน ซึ่งมีชื่อว่า ‘สิทธิคลอดบุตร ประกันสังคม’ โดยจะมีสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ ดังนี้
เบิกประกันสังคมคลอดบุตรแบบเหมาจ่าย จำนวน 15,000 บาท/ครั้ง (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)
เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร ซึ่งเป็นเงินชดเชยเป็นจำนวนร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน
ได้รับเงินสงเคราะห์บุตร จำนวน 600 บาท/เดือน โดยจะได้รับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนครั้งละไม่เกิน 3 คน
เงื่อนไขของแรงงานต่างด้าวคลอดบุตรในไทยมีอะไรบ้าง
สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ต้องการยื่นขอสิทธิประโยชน์เบิกค่าคลอดบุตร จะต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 30 ไม่รวมผู้ประกันตนมาตรา 40 และจะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในเวลา 15 เดือนก่อนคลอดบุตร ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่กล่าวไปข้างต้น แต่ในกรณีของการใช้สิทธิสำหรับบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
แม้ว่าในการขอรับสิทธิประโยชน์เบิกค่าคลอดบุตร ฝ่ายชายสามารถขอยื่นรับสิทธิแทนฝ่ายหญิงได้ แต่ในกรณีที่พ่อเบิกประกันสังคมคลอดบุตรจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ในส่วนของเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตรเป็นจำนวนร้อยละ 50 เหมือนกับฝ่ายหญิง ดังนั้น หากต้องการยื่นขอรับสิทธิประกันสังคมเบิกค่าคลอดบุตร จะต้องรู้ถึงเงื่อนไขและรายละเอียดต่าง ๆ เหล่านี้ให้ถี่ถ้วนเพื่อป้องกันไม่ให้เสียสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับ
และอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ควรรู้ คือสามารถใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรได้เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น นั่นคือ สำหรับบุตร 1 คนจะสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ 1 ครั้งเท่านั้น และสำหรับการคลอดบุตรแฝดก็ไม่สามารถเบิกเป็น 2 เท่าได้ เนื่องจากเป็นการเหมาจ่ายค่าคลอดบุตรต่อหนึ่งครั้งนั่นเอง
เบิกค่าคลอดบุตรใช้เอกสารอะไรบ้าง
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 โดยที่ผู้ประกันตนจะต้องกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
สำเนาสูติบัตรบุตรจำนวน 1 ชุด (สำหรับกรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
สำเนาทะเบียนสมรส หรือในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
ใบเสร็จรับเงินค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการคลอดบุตร
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก โดยจะต้องมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ 11 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารธนชาต, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารทหารไทย, ธนาคารอิสลาม, ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย, ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ขั้นตอนการเบิกค่าทำคลอดบุตรแรงงานต่างด้าว
สำหรับการยื่นขอเบิกค่าคลอดบุตรสำหรับแรงงานต่างด้าวที่เข้าสู่ระบบประกันสังคมอย่างถูกต้องตามกฎหมายสามารถยื่นขอรับสิทธิคลอดบุตรได้ 2 วิธี ได้แก่
ผู้ประกันตนสามารถยื่นด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคม ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข ในวันและเวลาราชการเท่านั้น โดยที่แรงงานจะยื่นขอรับสิทธิเองหรือให้ผู้อื่นยื่นแทนก็ได้เช่นกัน
ผู้ประกันตนสามารถยื่นขอรับสิทธิได้ทางไปรษณีย์ โดยการส่งเอกสารต่าง ๆ ไปยังที่อยู่ของสำนักงานประกันสังคม และให้จ่าหน้าซองว่า ‘ฝ่ายสิทธิประโยชน์’
เมื่อดำเนินการครบทุกขั้นตอนแล้ว แรงงานต่างด้าวที่เป็นผู้ประกันตนสามารถเช็คสถานะเงินค่าคลอดบุตรหรือตรวจสอบผลอนุมัติจ่ายเงินได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมโดยตรง โดยปกติแล้วหากไม่มีปัญหาอะไรเกี่ยวกับเอกสารค่าคลอดบุตร และกระบวนการต่าง ๆ ทางสำนักงานประกันสังคมจะโอนเงนเข้าบัญชีของผู้ประกันตนภายใน 5-7 วันทำการ นับแต่วันที่เอกสารได้รับการอนุมัติ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวคลอดบุตรในไทย
ต่างด้าวไม่มีบัตร ฝากครรภ์ได้ไหม?
แรงงานต่างด้าวที่ไม่มีบัตรประจำตัว หรือไม่มีเอกสารที่เป็นหลักฐานในการเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย สามารถฝากครรภ์ได้ แต่อาจจะมีเงื่อนไขและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลที่เลือกเข้าฝากครรภ์และนโยบายของรัฐบาลในขณะนั้นร่วมด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากเป็นแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้เข้ามาทำงานอย่างถูกต้อง จะมีขั้นตอนและกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อนมากกว่านั่นเอง
ต่างด้าวฝากครรภ์ต้องใช้อะไรบ้าง?
หนังสือเดินทาง (Passport)
วีซ่า (Visa)
ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)
เอกสารที่ใช้แสดงสถานที่พักอาศัยของแรงงานต่างด้าว
ข้อมูลอื่น ๆ เช่น ประวัติการแพ้ยา หรือผลการตรวจสุขภาพ เป็นต้น
เบิกค่าคลอดประกันสังคม ภายในกี่วัน?
สำหรับแรงงานต่างด้าวที่มีการเข้าสู่ระบบประกันสังคมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายรวมถึงการเบิกเงินประสังคมค่าคลอดบุตรเช่นเดียวกับแรงงานคนไทย สามารถเบิกค่าคลอดประกันสังคมโดยการยื่นเอกสารคลอดบุตรและดำเนินการตามขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ จากนั้นจะได้รับเงินค่าคลอดบุตร ภายใน 5-7 วันทำการ นับแต่วันที่เอกสารได้รับการอนุมัติ
ลูกแรงงานต่างด้าวที่เกิดในไทยมีสิทธิอะไรบ้าง?
ลูกของแรงงานต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยจะได้รับสิทธิพื้นฐานที่มีความเท่าเทียมกันตามกฎหมายไทย ไม่ว่าจะเป็น สิทธิในการจดทะเบียนเกิดและมีสูติบัตร, สิทธิในการเข้าถึงบริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน, สิทธิในการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสิทธิในการคุ้มครองจากการถูกเลือกปฏิบัติหรือการถูกละเมิดสิทธิ และการถูกทารุณกรรมต่าง ๆ รวมถึงสิทธิในการเข้าถึงบริการสาธารณะด้วยเช่นกัน
หลังจากคลอดบุตรแล้วแรงงานควรทำอย่างไร?
เมื่อดำเนินการทั้งการคลอดบุตรและการดำเนินเกี่ยวกับเอกสารและขั้นตอนต่าง ๆ ในการยื่นขอเบิกค่าคลอดบุตรเรียบร้อยแล้ว แรงงานต่างด้าวจะต้องทำการแจ้งเกิดบุตรที่อำเภอ เพื่อให้ลูกที่เกิดมาได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีข้อสงสัยหรือมีปัญหาใด ๆ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือทางองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะ เนื่องจากในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่พร้อมให้ความช่วยเหลือและดูแลเกี่ยวกับสิทธิของแรงงานต่างด้าว
บทสรุป
แน่นอนว่าการคลอดบุตรเป็นช่วงเวลาที่ต้องใช้ทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งหากเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือเข้ามาภายใต้ระบบ MOU จะได้รับสิทธิประโยชน์คุ้มครองสำหรับแรงงานต่างด้าวคลอดบุตรในไทยในการเบิกค่าคลอดบุตร โดยจะต้องเตรียมเอกสารต่าง ๆ และดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนกระบวนการ สิ่งสำคัญคือการศึกษาข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วนเพื่อให้เป็นการคลอดบุตรที่มีคุณภาพและปลอดภัย
สำหรับนายจ้างคนไหนที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวให้เข้ามาทำงานให้กับธุรกิจหรือกิจการต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับผลทางกฎหมายที่จะตามมา หากมีการจ้างงานแบบผิดกฎหมาย สามารถติดต่อได้ที่บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ A.A.A. ADVANCE ซึ่งจะช่วยดูแลเกี่ยวกับการจ้างแรงงานต่างด้าว พร้อมทั้งช่วยดูแลทุกขั้นตอนการบริการแบบครบวงจรและครอบคลุมมากที่สุด
Powered by Froala Editor
- Administrator
- Aug 16, 2024
บริการของบริษัท นำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ เอ.เอ.เอ. แอดวานซ์ จำกัด
อ่านต่อ- Administrator
- Sep 11, 2024
เช็กด่วน! 6 เอกสารที่แรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายจำเป็นต้องมี ในปี 2024
อ่านต่อ- Administrator
- Dec 19, 2024
รู้ข้อดีการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมาย
อ่านต่อ- Administrator
- Sep 13, 2024