ทำความรู้จัก MOU สำหรับแรงงานต่างด้าว ในปี 2567

MOU แรงงานต่างด้าว เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการและนายจ้างต่าง ๆ จำเป็นต้องรู้ถึงข้อตกลงและการดำเนินการ เพื่อป้องกันการทำผิดกฎหมายแบบไม่รู้ตัว โดยการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานแบบไม่ถูกต้อง รวมถึงแรงงานต่างด้าวเองก็จำเป็นต้องทราบเช่นเดียวกัน เพื่อคงสภาพแรงงานที่ถูกกฎหมายในประเทศไทย

การทำ MOU คืออะไร?

การทำ MOU คืออะไร

MOU (Memorandum of Understanding) คือ ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมและควบคุมการจ้างงานแรงงานต่างด้าวให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและถูกต้องตามกฎหมาย โดยการทำ MOU หรือการขึ้นทะเบียนแรงงานตามมติ ครม. ยังช่วยคุ้มครองสิทธิแรงงานและช่วยแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายอีกด้วย

ขั้นตอนการทำ MOU ประจำปี 2567

การนำเข้าแรงงานต่างด้าวแบบถูกกฎหมายสามารถทำได้ 2 วิธีหลัก ๆ โดยวิธีแรกคือการที่นายจ้างนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาพร้อมจัดการทำ MOU ด้วยตัวเอง วิธีที่ 2 นายจ้างติดต่อบริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าวให้เป็นผู้ดำเนินการให้ ซึ่งขั้นตอนการทำ MOU มีวิธีการดำเนินการดังนี้

  1. นายจ้างยื่นขอโควตาที่สำนักงานจัดหางานตามสถานประกอบการที่นายจ้างตั้ง

  2. ยื่นคำร้องขอหนังสือนำเข้าแรงงานต่างด้าว (Demand Letter)

  3. นำส่งเอกสารถึงประเทศต้นทางที่สถานทูตในประเทศไทย

  4. จากนั้นประเทศต้นทางจะจัดทำบัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าว (Name List)

  5. แรงงานต่างด้าวเดินทางเข้าประเทศไทยผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองตามที่กำหนดและทำการลงตรา (Visa)

  6. แรงงานต่างด้าวเข้ารับการอบรมที่ศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้างงานที่จังหวัดตาก, จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดหนองคาย ตามประเทศต้นทางที่ติดกับจังหวัดดังกล่าว ก่อนจะเดินทางไปยังสถานประกอบการต่อไป 

เอกสารที่จำเป็นสำหรับการทำ MOU ในปี 2567

ขั้นตอนการทำ MOU จำเป็นต้องใช้เอกสารสำคัญร่วมด้วย โดยเอกสารที่จำเป็นระหว่างลูกจ้างและนายจ้างแตกต่างกัน ดังนั้นแล้ว ควรเตรียมเอกสารที่สำคัญให้พร้อมสำหรับขั้นตอนการทำ MOU

เอกสารที่จำเป็นสำหรับการทำ MOU ในปี 2567

สำหรับนายจ้าง

  • สำเนาบัตรประชาชน

  • สำเนาทะเบียนบ้าน 

  • แผนที่สถานที่ทำงาน

  • หลักฐานแสดงความจำเป็นในการจ้างคนต่างด้าว

  • รูปถ่ายสถานที่ทำงานและที่พัก

  • หนังสือรับรองบริษัท (หากเป็นนิติบุคคล อายุไม่เกิน 3 เดือน)

  • สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง (หากเป็นกิจการก่อสร้าง)

  • สัญญาเช่า (หากเป็นร้านค้า)

  • รายละเอียดความต้องการสวัสดิการต่าง ๆ

สำหรับลูกจ้างหรือแรงงานต่างด้าว

  • สำเนาบัตรประชาชน (ถ้ามี)

  • สำเนาทะเบียนบ้านประเทศต้นทางของแรงงาน (ถ้ามี)

  • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้วครึ่ง หรือ 2 นิ้ว

  • หนังสือเดินทาง (Passport) ตัวจริงหรือสำเนา (ถ้ามี)

  • ใบอนุญาติทำงาน (Work Permit) ตัวจริงหรือสำเนา (ถ้ามี)

นอกจากนี้ ในกรณีที่แรงงานต่างด้าวไม่มีเอกสารอะไรเลย จำเป็นต้องเข้ารับการสอบถามประวัติเพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น ชื่อ, ที่อยู่, อายุ, สัญชาติ เป็นต้น เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนของแรงงานต่างด้าว

บทสรุป

การทำ MOU สำหรับแรงงานต่างด้าว เป็นข้อตกลงการจ้างแรงงานต่างด้าวที่ทางรัฐบาลได้ลงนามร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาว กัมพูชา พม่าและเวียดนาม ซึ่งการทำ MOU ในปี 2567 มีข้อกำหนดและเงื่อนไขการดำเนินการต่าง ๆ ที่นายจ้างจำเป็นจะต้องศึกษาให้ดีก่อนทำสัญญาและเริ่มต้นจ้างงาน เพื่อป้องกันการทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว


หากใครกำลังมองหาบริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าว พร้อมบริการเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวแบบครบวงจร สามารถติดต่อได้ที่ A.A.A ADVANCE บริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าว ซึ่งได้มีการจัดหาแรงงานเข้ามาทำงานในประเทศที่ได้จดทะเบียนถูกต้องกับกรมแรงงาน ที่พร้อมให้คำแนะนำและการปรึกษา สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ หรือเบอร์ติดต่อ 02-530-9455

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

รับทำเว็บไซต์ by SiNGHADEVELOP CO.,LTD.