แรงงานต่างด้าวต้องการเปลี่ยนนายจ้าง ต้องทำอย่างไร

แรงงานต่างด้าวมีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้มีความต้องการเปลี่ยนนายจ้างและเข้าทำงานกับนายจ้างคนใหม่ ซึ่งการดำเนินการเปลี่ยนนายจ้างมีกระบวนการแตกต่างจากการนำเข้าแรงงานต่างด้าว อีกทั้งยังมีเงื่อนไขและเอกสารที่ต้องเตรียมต่างออกไป โดยเฉพาะแบบการจ้างงานและแบบแจ้งการทำงาน โดยในบทความนี้เราจะพาไปทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนนายจ้างของแรงงานต่างด้าวว่ามีเงื่อนไขรายละเอียดอย่างไรบ้าง รวมทั้งเอกสารที่จำเป็นคืออะไรบ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย 

แรงงานต่างด้าวเปลี่ยนนายจ้างได้หรือไม่?

แรงงานต่างด้าวเปลี่ยนนายจ้างได้หรือไม่

ตามเงื่อนไขของ MOU ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าแรงงานต่างด้าวไม่สามารถเปลี่ยนงานหรือเปลี่ยนนายจ้างได้อย่างอิสระตามความต้องการ แต่กระนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าแรงงานต่างด้าวจะเปลี่ยนนายจ้างไม่ได้เลยในช่วงเวลาที่เป็นแรงงานในประเทศไทย ซึ่งมีเงื่อนไขยกเว้นพิเศษอยู่ และหากตรงตามเงื่อนไข แรงงานต่างด้าวก็สามารถยื่นขอการเปลี่ยนนายจ้างได้ 

เงื่อนไขการเปลี่ยนนายจ้างตามกฎหมายแรงงาน

  1. นายจ้างเลิกจ้าง โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือนายจ้างเสียชีวิต

  2. นายจ้างล้มละลาย

  3. นายจ้างกระทำทารุณกรรมหรือทำร้ายร่างกายลูกจ้าง 

  4. นายจ้างไม่ปฎิบัติตามสัญญาจ้างหรือกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน 

  5. ลูกจ้างทำงานในสภาพการทำงานหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจหรือสุขภาพอนามัย

  6. นายจ้างคนใหม่ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้กับนายจ้างเดิม

นอกจากนี้ หากแรงงานต่างด้าวประสงค์ขอเปลี่ยนนายจ้าง ซึ่งตรงตามเงื่อนไขข้างต้น แรงงานต่างด้าวสามารถยื่นเรื่องได้ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ยกเลิกสัญญาและออกจากนายจ้างคนเก่า ซึ่งในกรณีที่เกิดกำหนด จำเป็นต้องนำเข้า MOU ใหม่เท่านั้น

อาชีพอะไรบ้างที่แรงงานต่างด้าวสามารถทำได้?

สำหรับนายจ้างที่กำลังมองหาการจ้างแรงงานต่างด้าว ควรรู้และเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพที่แรงงานต่างด้าวสามารถทำได้ก่อนว่ามีอะไรบ้าง เพื่อป้องกันการทำงานที่ผิดประเภท ซึ่งส่งผลให้ถูกลงโทษตามกฎหมาย โดยอาชีพที่แรงงานต่างด้าวสามารถทำได้ประกอบด้วย 12 อาชีพด้วยกัน ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้

อาชีพอะไรบ้างที่แรงงานต่างด้าวสามารถทำได้

แบบไม่มีเงื่อนไข

  • กรรมกร

แบบมีเงื่อนไข (ต่างด้าวเป็นลูกจ้าง)

เป็นกลุ่มอาชีพที่ขาดแคลนแรงงาน ซึ่งอนุญาตให้ทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยไม่กระทบต่อโอกาสการทำงานของคนไทย ประกอบด้วย 8 อาชีพ คือ

  • กสิกรรม

  • ก่ออิฐ ช่างไม้ และก่อสร้างอื่น ๆ 

  • ทำที่นอนหรือผ้าห่มนวม

  • ทำมีด

  • ทำรองเท้า

  • ทำหมวก

  • ประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย

  • ทำเครื่องปั้นดินเผา

แบบมีเงื่อนไข (ตามข้อตกลงระหว่างประเทศอาเซียน)

โดยแรงงานกลุ่มอาชีพนี้จำเป็นต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายไทย ก่อนขอรับใบอนุญาตการทำงาน ประกอบด้วย 3 อาชีพ ได้แก่

  • บัญชี

  • วิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา

  • งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรม

บทสรุป

แรงงานต่างด้าวที่ต้องการเปลี่ยนนายจ้างสามารถทำได้ หากตรงตามเงื่อนไขที่กฎหมายแรงงานกำหนดไว้ แต่กระนั้น ก่อนเปลี่ยนงานหรือนายจ้าง จำเป็นต้องเข้าใจกระบวนการให้ดี เพื่อเตรียมเอกสารที่สำคัญให้ครบถ้วน


หากนายจ้างต้องการจัดหาแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายและผ่านกระบวนการที่ถูกต้อง แต่ยังไม่มีช้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการทำ MOU เพื่อนำเข้าแรงงานต่างด้าว สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ A.A.A ADVANCE บริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทำงานในประเทศไทยที่ได้จดทะเบียนถูกต้องกับทางกรมแรงงาน ติดต่อได้ที่เว็บไซต์ หรีอเบอร์ 02-530-9455

Powered by Froala Editor

รับทำเว็บไซต์ by SiNGHADEVELOP CO.,LTD.